balldoo
Menu

เนื้อปลาทูน่าและโลหะหนัก

   การลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักให้ๆได้ผลดี อาหารก็มีส่วนช่วยสำคัญด้วยเช่นกัน โดยหนึ่งในเมนูเหล่านั้นก็คือปลาต่างๆ เนื่องจากอุดมไปด้วยโปรตีนและให้ไขมันต่ำ อีกทั้งยังเป็นไขมันดีและมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายสูง ซึ่งปลาที่มักจะรับประทานอย่างเป็นที่นิยมและรู้จักกันอย่างขว้างขวาง เพราะหาง่ายและประกอบอาหารได้หลายเมนู มีรสชาติที่อร่อยนั่นก็คือ “ปลาทูน่า”
   รู้จักกับปลาทูน่า ปลายอดนิยมของคนรักสุขภาพ ปลาทูน่าเป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูงในทะเลหรือมหาสมุทรที่ห่างจากชายฝั่ง รูปร่างเพรียว ฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ดเล็กๆ ที่ครีบหางจะเว้าลึก สามารถว่ายน้ำได้รวดเร็ว นิยมนำมารับประทานสดหรือเป็นอาหารสำเร็จรูปในลักษณะของอาหารกระป๋อง โดยปลาทูน่าที่นิยมจับมาเป็นอาหาร ได้แก่ ทูน่าตาโต ทูน่าครีบเหลือง ทูน่าครีบยาว ทูน่าสีน้ำเงิน ปลาโอแถบ และปลาโอดำ
   ปลาทูน่ากับโลหะหนักสัมพันธ์กันอย่างไร โลหะหนักหมายถึงธาตุที่มีน้ำหนักมากกว่า 5 เท่า หรือมีความถ่วงจำเพาะตั้งแต่ 5 ขึ้นไป อาทิเช่น แคดเมียม โครเมียม ปรอท หรือตะกั่ว ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายและยังแพร่กระจายมาจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือสถานประกอบการที่ทำธุรกิจด้วยการใช้สารเหล่านี้ผสมอยู่ โดยไม่มีระบบจัดการปล่อยโลหะหนักสู่สิ่งแวดล้อมที่ดี จึงทำให้มีการแพร่กระจายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล และมหาสมุทร เป็นต้น
  ปลาทูน่าจัดว่าเป็นอาหารที่มีสารเคมีประเภทปรอทอยู่มาก โดยพบว่าสายพันธ์ของปลาทูน่าที่มีสารปรอทสะสมอยู่ในตัวมาก ได้แก่ ปลาทูน่าตาโตและบริเวณส่วนเนื้อแดงของปลาทูน่าครีบน้ำเงิน สำหรับสายพันธ์ที่พบว่ามีสารโลหะหนักน้อยที่สุด นั่นคือปลาทูน่าครีบเหลืองและส่วนที่เป็นมันของปลาทูน่าครีบน้ำเงิน แต่ทั้งนี้ก็ยังมีค่าของโลหะหนักเกินกว่าที่กำหนดให้บริโภคแทบทั้งสิ้น
   อาการและโรคที่มาจากปลาทูน่าที่มีโลหะหนัก โลหะหนักสามารถเข้าสู่ร่างกายของคนได้จากทางลมหายใจและการซึมเข้าสู่ผิวหนัง ถ้ามาจากปลาทูน่าก็จะเป็นการรับประทานปลาทูน่าที่มีปรอทเข้าไปบ่อยๆ ซึ่งในระยะแรกจะไม่แสดงอาการอะไรให้เห็น แต่เมื่อเกิดการสะสมในร่างกายจำนวนมากแล้วจะทำให้มีผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้
 - ในสตรีมีครรภ์แม้ว่าจะได้รับโลหะหนักแค่เพียงเล็กน้อย ก็อาจจะทำให้เด็กเจริญเติบโตผิดปกติ มีปัญหาทางด้านสติปัญญา แขนขามีอาการเหนื่อยอ่อนคล้ายคนพิการ
 - หูตึง สูญเสียการประสานงานของกล้ามเนื้อ มีอาการหลอดเลือดแข็ง เป็นอัมพาต หากเป็นพิษรุนแรงก็ถึงขั้นเสียชีวิตได้
   วิธีแก้ไขและตัวเลือกที่ควรนำมารับประทาน สำหรับสตรีมีครรภ์หรือต้องให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงปลาทูน่า หรือถ้าต้องรับประทานก็ไม่ควรเกิน 2 – 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ หรือใช้วิธีเลี่ยงหันมารับประทานปลาแซลมอน ซึ่งมีปริมาณโลหะหนักน้อยกว่าปลาทูน่า อีกทั้งปลาทูน่าที่เลี้ยงก็ไม่ควรนำมารับประทานเพราะมีไขมันมากกว่าที่มาจากธรรมชาติ
   ปลาทูน่าที่ผลิตเป็นอาหารกระป๋องก็ควรเลี่ยงไปรับประทานชนิดปลาทูน่าในน้ำแร่ จะมีความเหมาะสมกว่าปลาทูน่าในน้ำมัน เนื่องจากน้ำมันเป็นตัวที่ละลายไขมันปลาที่มีโอเมก้า 3 ออกมาข้างนอกตัวปลาด้วย แล้วเวลารับประทานก็มักจะเทส่วนที่เป็นน้ำมันทิ้ง จึงทำให้เราไม่ได้รับโอเมก้าอยู่แล้ว หรือเลือกรับประทานปลาที่มีอายุสั้นๆ จะได้ไม่มีโลหะหนักสะสมมาก อย่างเช่นปลาทูและปลาแซลมอน เป็นต้น
   การรับประทานปลาเพื่อสุขภาพที่ดีและไม่อ้วนก็สามารถเลือกและทำได้ไม่ยาก ปลาทะเลจากน้ำลึกยังเป็นแหล่งอาหารที่ให้ประโยชน์สูงแก่ร่างกายมนุษย์อยู่ดี เพียงแค่ฉลาดรู้และเลือกรับประทานปลาทูน่าหรือปลาอื่นๆ ให้ถูกวิธี จะช่วยให้โลหะหนักไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

โพสต์โดย : solo solo เมื่อ 7 มี.ค. 2567 19:39:11 น. อ่าน 33 ตอบ 0

facebook