balldoo
Menu

วิธีการจัดการกับไข่ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อที่มาจากอาหาร

   บางครั้งไข่ดิบก็มีเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหารที่เรียกว่า salmonellosis ได้ อาการของภาวะนี้ ได้แก่ มีไข้ ท้องเสีย และปวดท้อง อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 12 ชั่วโมง – 3 วันหลังจากที่รับประทานไข่ที่ปนเปื้อน คนส่วนมากสามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติได้โดยไม่มีปัญหา แต่ในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องนั้นอาจป่วยหนักเนื่องจากการติดเชื้อนี้สามารถแพร่จากระบบทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้และอาจทำให้เสียชีวิต
   คุณควรเลือกไข่ดิบที่เก็บในตู้เย็น อย่าซื้อไข่ที่ขายอยู่ตามแผงขายของข้างทางหรือตามตลาดชาวนา ยกเว้นว่ามันจะเก็บอยู่ในช่องเก็บความเย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาฟาเรนไฮต์ นอกจากนั้นการเปิดฝากล่องและดูลักษณะของไข่ว่าไม่มีไข่แตกนั้นก็เป็นความคิดที่ดี แต่คุณไม่สามารถบอกว่าไข่ฟองไหนที่มีการปนเปื้อนเชื้อ salmonella ได้ด้วยการดูหรือการดม ดังนั้นคุณจะต้องจัดการกับไข่ดิบเหล่านี้เหมือนกับว่าพวกมันอาจเป็นพาหะของเชื้อและปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร คุณอาจจะสามารถซื้อไข่ที่ผ่านการพาสเจอไรซ์ซึ่งเป็นกระบวนการที่ฆ่าเชื้อ salmonella และทำให้ไข่ปลอดภัยแม้ว่าจะยังไม่ได้นำมาทำอาหารก็ตาม ไข่ที่ผ่านการพาสเจอไรซ์นี้มีทั้งในรูปแบบไข่สด ไข่เหลว แห้ง หรือแช่แข็ง หากคุณต้องการทำอาหารที่ใช้ไข่ดิบเป็นส่วนประกอบ คุณควรใช้ไข่ชนิดนี้เท่านั้น หากคุณไม่สามารถซื้อไข่ที่ผ่านการพาสเจอไรซ์ได้ คุณอาจจะลองพาสเจอไรซ์เองที่บ้าน
   ยังคงต้องตรวจสอบความปลอดภัยของไข่แม้จะมาถึงที่บ้านแล้ว คุณควรเก็บไข่ดิบเหล่านี้ไว้ในตู้เย็นจนกว่าจะใช้  ไข่เหล่านี้สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้อย่างปลอดภัยนานถึง 3 สัปดาห์ ไข่หรือผลิตภัณฑ์จากไข่ที่แช่แข็งสามารถเก็บที่อุณหภูมิ 0 องศาฟาเรนไฮต์ได้นาน 1 ปี เมื่อคุณต้องการนำมาทำอาหาร ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ สถานที่ รวมถึงมือของคุณนั้นสะอาด คำแนะนำเพิ่มเติม ได้แก่
 - ละลายผลิตภัณฑ์จากไข่ที่แช่แข็งอย่างปลอดภัยภายในตู้เย็น ไม่ใช่ที่อุณหภูมิห้อง
 - เก็บไข่ดิบไว้ให้ห่างจากอาหารที่ปรุงแล้วหรืออาหารที่พร้อมรับประทานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน
 - อย่าเลียช้อนหรือกินแป้งดิบที่ทำจากไข่ดิบที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์
 - ปรุงไข่ให้ไข่ขาวและไข่แดงสุก
 - อบ quiches, casseroles และอาหารอื่น ๆ ที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบที่อุณหภูมิ 160 องศาฟาเรนไฮต์
   หลังจากที่คุณทำให้ไข่สุกแล้วนั้น คุณจะต้องปฏิบัติตามวิธีการรับประทานอาหารให้ปลอดภัยทั่วไป และเลือกเก็บไว้ให้ร้อนจนกว่าจะเสิร์ฟ (ที่อุณหภูมิมากกว่า 140 องศาฟาเรนไฮต์) หรือเก็บไว้ในที่เย็น (อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาฟาเรนไฮต์) หลังจากที่คุณรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้แช่อาหารที่ทำจากไข่ในตู้เย็นทันที โดยสามารถเก็บไว้ได้นาน 3-4 วัน

โพสต์โดย : solo solo เมื่อ 25 ก.พ. 2567 07:58:16 น. อ่าน 31 ตอบ 0

facebook