balldoo
Menu

อาหารแนะนำสำหรับถวายพระสงฆ์

   เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาหรือวันพระ เหล่าพุทธศาสนิกชนจะนิยมทำบุญตักบาตร นับว่าเป็นประเพณีการทำบุญที่สืบทอดต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน อาหารที่ใช้ตักบาตรหรือถวายพระนั้นจะประกอบไปด้วยอาหารคาวและหวาน แต่ปัจจุบันกลับพบว่า อาหารตักบาตรถวายพระส่วนใหญ่เป็นอาหารรสเค็มจัด หวานจัด และมีไขมันสูง ส่งผลต่อสุขภาพพระสงฆ์ และก่อให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา ได้แก่ โรคอ้วน โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ โรคหัวใจ อีกทั้งพระสงฆ์ยังไม่สามารถออกกำลังกายได้ เนื่องจากความจำกัดในสมณเพศ ท่านทำได้เพียงการทำกิจวัตรเล็กๆ น้อยๆ เช่น กวาดหรือทำความสะอาดกุฏิลานวัด เดินบิณฑบาต เดินจงกรม เป็นต้น  
   จากการศึกษาปัญหาโภชนาการของพระสงฆ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2554-2555 พบว่า พระสงฆ์จำนวนถึง 45% อยู่ในเกณฑ์อ้วน พระสงฆ์ 40% มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะพระที่สูงวัย มักเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เนื่องจากอาหารที่ได้รับไม่ถูกหลักโภชนาการที่ควรจะเป็น ดังนั้นสาธุชนควรคำนึงถึงหลักการเลือกภัตตาหารสำหรับถวายพระสงฆ์เพื่อสุขภาพที่ดีของท่าน โดยเลือกอาหารที่มีประโยชน์ ไม่เค็มจัด หวานจัด หรือมันจัด เน้นอาหารที่มีผักมากๆ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีแก่พระสงฆ์ และมีสิ่งที่ควรคำนึงถึงดังนี้
 1. พลังงานและสารอาหารในแต่ละวัน โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย ได้แนะนำพลังงานที่ควรได้รับ 1,200-1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ขึ้นอยู่กับระดับกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินในชีวิตประจำวัน โดยได้รับจากข้าว แป้ง น้ำตาล ผัก ผลไม้ และไขมัน
 2. นมและผลิตภัณฑ์จากนม สารอาหารที่ได้คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ได้จากน้ำนมจากสัตว์ เช่น นมวัน นมแพะ หรือน้ำนมจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง ควรเลือกเป็นนมพร่องมันเนย มีไขมันต่ำ ส่วนโยเกิร์ต ควรเลือกโยเกิร์ตรสธรรมธรรมชาติ และไม่ควรถวายนมเปรี้ยว เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่านมธรรมดา
 3. ข้าว แป้ง สารอาหารที่ได้คือ คาร์โบไฮเดรต มีอยู่ในอาหารจำพวกข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวกล้อง ขนมปัง ข้าวโพด เผือก มัน ควรเลือกถวายอาหารประเภทข้าว แป้ง ที่ผ่านการขัดสีแต่น้อย เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท เพราะจะให้ประโยชน์เรื่องใยอาหาร และวิตามินบีรวม
 4. เนื้อสัตว์ ไข่ เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ สารอาหารที่ได้คือ โปรตีน ควรถวายเนื้อสัตว์ประเภทปลา เนื่องจากเนื้อปลาย่อยงานและมีไขมันต่ำ ไม่ควรถวายเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น เป็นต้น
 5. ผักและผลไม้ สารอาหารที่ได้คือวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ รวมทั้งใยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย ดูดซับสารพิษ รวมถึงปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือด ควรจะถวายภัตตาหารที่มีผักเป็นส่วนประกอบมากขึ้น และเป็นผักหลากสี เนื่องจากผักสีต่างๆ มีคุณประโยชน์และมีวิตามินที่แตกต่างกัน ในส่วนของผลไม้ควรเลือกถวายผลไม้ตามฤดูกาล เลือกถวายผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด เช่น ส้ม มะละกอ แตงโม แคนตาลูป ฝรั่ง แก้วมังกร เป็นต้น และหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เพราะอาจจะทำให้พระสงฆ์เป็นเบาหวานได้ เช่น ทุเรียน ลำไย เป็นต้น
 6. ไขมันและน้ำมัน จะช่วยในการดูดซึมวิตามินต่างๆ ควรเลือกไขมันไม่อิ่มตัวเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารสำหรับพระสงฆ์ และหลีกเลี่ยงการถวายอาหารที่ใช้น้ำมันจำนวนมากในการปรุง เช่น อาหารที่มีกะทิ อาหารที่ปรุงโดยการผัดน้ำมันมากๆ และอาหารทอด เพราะอาจส่งผลให้น้ำหนักตัวพระสงฆ์เพิ่มขึ้นได้ง่าย
 7. ขนมและเบ็ดเตล็ด หลีกเลี่ยงขนมที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เช่น ข้าวเหนียวทุเรียนน้ำกะทิ ข้าวเหนียวมูลมะม่วง เค้ก และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น โจ๊กซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋องต่างๆ
 8. น้ำปานะ ควรมีโปรตีนและไขมันอยู่ด้วยเล็กน้อย เพราะจะช่วยชะลอให้อาหารอยู่ในกระเพาะได้นานขึ้น ทำให้อิ่มนาม ซึ่งจะช่วยบรรเทาควรหิวในขณะที่ร่างกายไม่ได้รับอาหารหลายชั่วโมงได้ดี เช่น นมถั่วเหลืองหวานน้อย น้ำข้าว นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม และเลี่ยงการเติมน้ำตาล ครีมเทียม ลงในเครื่องดื่มด้วย

โพสต์โดย : solo solo เมื่อ 22 ม.ค. 2567 07:34:46 น. อ่าน 31 ตอบ 0

facebook