balldoo
Menu

การรับประทานอาหารบำรุงสมอง ในรูปแบบอาหารฟังก์ชัน

    จะเห็นได้ว่า สารอาหารต่างๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองพบได้ในทั่วไปทั้งในเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และเครื่องดื่ม อย่างไรก็ตาม แหล่งอาหาร วิธีการปรุง วัตถุดิบแต่งรส หรือปริมาณบริโภค อาจส่งผลให้สารอาหารเหล่านั้นแปรเปลี่ยนไปได้  เมื่อประกอบกับพฤติกรรมของผู้คนในปัจจุบันกลุ่มที่มักมีเวลาไม่มากนัก หลายคนจึงรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบต่างๆ เป็นตัวช่วย ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจได้แก่ การรับประทานอาหารบำรุงสมองในรูปแบบอาหารฟังก์ชัน (Functional Food) ซึ่งมีคำจำกัดความว่า “อาหาร หรือสารอาหารชนิดใดๆ ที่ให้ผลต่อสุขภาพทางกาย หรือทางใจ เป็นผลที่ถือว่า เป็นมูลค่าเพิ่มจากคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร หรือสารอาหารนั้นๆ” ความหมายของอาหารฟังก์ชันในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน เช่น อาหารฟังก์ชันในประเทศญี่ปุ่นจะต้องมาจากธรรมชาติ และรับประทานร่วมกับมื้ออาหารปกติได้ ไม่ได้รับประทานแบบยา รวมถึงส่งผลต่อระบบของร่างกายของผู้รับประทานด้วย เช่น เสริมภูมิต้านทานจากบางโรค ช่วยชะลอความแก่ ตัวอย่างอาหารฟังก์ชันซึ่งเข้ากับคำจำกัดความดังกล่าวที่มีวางขายในประเทศไทย ได้แก่ ซุปไก่สกัด ซึ่งมีสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็ก ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็ว ดื่มสะดวก สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้คนที่เร่งรีบ ไม่ค่อยมีเวลามากนัก
    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สมองทำงานดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกรับประทานอาหารบำรุงสมองที่มีประโยชน์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สมองทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพได้ เพื่อให้สมองทำงานเต็มที่และไม่เสื่อมเร็วกว่าที่ควร คุณควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่ไปด้วย ดังนี้
    อย่างไรก็ตาม ไม่ควรงดอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งไปเลยโดยสิ้นเชิง ควรรับประทานให้หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม เพราะดังที่กล่าวไปในบทความว่า สารอาหารบางอย่างมีการทำงานเกี่ยวเนื่องหรือส่งเสริมคุณค่าของกันและกัน

โพสต์โดย : solo solo เมื่อ 14 ธ.ค. 2566 18:38:35 น. อ่าน 36 ตอบ 0

facebook