นอนกรน… อันตรายแค่ไหน
นอนกรนเป็นอาการที่พบบ่อยมาก และเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แท้จริงแล้วเสียงกรนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งอาจเป็นตั้งแต่จมูก ช่องลำคอ โคนลิ้น หรือบางส่วนของกล่องเสียงซึ่งเกิดจากการหย่อนตัวลงในขณะหลับ จนทำให้เมื่อลมหายใจผ่านเนื้อเยื่อดังกล่าว เกิดการสั่นสะเทือนและมีเสียงดังขึ้น หากบางครั้งเกิดการตีบแคบมากขึ้นจนอุดกลั้นลมหายใจทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถหายใจเข้าออกได้เป็นระยะ ๆ ซึ่งเราเรียกลักษณะดังกล่าวว่า “โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA)” หรือ “ โรคหยุดหายใจขณะหลับ”
โรคหยุดหายใจขณะหลับทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้หลายอย่าง เช่น เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์และอัมพาต ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอันเนื่องมาจากความง่วงนอนมากผิดปกติ เสี่ยงต่อความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง หรือความจำถดถอย หรืออาจก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้นอนร่วมห้อง และหากมีการหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก อาจทำให้มีความผิดปกติของพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสติปัญญา เกิดพฤติกรรมซุกซนก้าวร้าว ปัสสาวะรดที่นอน มีผลการเรียนที่แย่ลง หรือมีปัญหาสังคมสำหรับเด็กได้
“โรคหยุดหายใจขณะหลับ” ในประเทศไทยคาดว่า พบไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ในเพศชายหรือร้อยละ 2 ในเพศหญิง และยังพบได้ประมาณร้อยละ 1 ของเด็กก่อนวัยเรียนและช่วงประถม
อาการที่บ่งบอกว่าอาจเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ
การตรวจวินิจฉัย
แนวทางการรักษา
โพสต์โดย : เจ้าหนู เมื่อ 9 ธ.ค. 2566 17:29:59 น. อ่าน 33 ตอบ 0