balldoo
Menu

ช็อปปิ้งวันหยุดฉบับมนุษย์เงินเดือน

ช็อปปิ้งวันหยุดฉบับมนุษย์เงินเดือน นอกจากข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวและเสื้อผ้าแล้ว อาหารก็เป็นปัจจัยหลักที่เราต้องบริโภคในชีวิตประจำวัน ซึ่ง "อาหารกระป๋อง" เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมบริโภค เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย สะดวกต่อการบริโภคและพกพา

การนำอาหารมาบรรจุในกระป๋อง ใช้เทคโนโลยีการให้ความร้อนเพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้อาหารที่อยู่ในกระป๋องปลอดเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุของการเน่าเสีย ช่วยให้มีอายุการเก็บนานเป็นปีที่อุณหภูมิห้อง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1.กลุ่มอาหารที่เป็นกรด (acid foods) คืออาหารที่มีค่าพีเอชต่ำกว่า 4.5 ส่วนมากเป็นผลไม้กระป๋อง เช่น สับปะรด ส้ม หรือผักที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะเขือเทศ กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น

2.กลุ่มอาหารที่เป็นกรดต่ำ (Low acid foods) คืออาหารที่มีค่าพีเอชสูงกว่า 4.5 โดยส่วนมากจะเป็นอาหารกระป๋องจำพวกเนื้อสัตว์ และผักต่างๆ เช่น เนื้อ หมู ปลา ข้าวโพดฝักอ่อน และหน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

1.ดูลักษณะกระป๋อง ไม่บุบบี้ หรือ โป่งพอง ตะเข็บหรือรอยต่อต้องเรียบร้อยและแน่นหนา กระป๋องต้องไม่เป็นสนิม
2.เมื่อกดนิ้วลงไปบนฝากระป๋องแล้วยุบลงไป หรือส่วนอื่นของฝากระป๋องหรือพองออก ไม่ควรเลือกอาหารกระป๋องนั้น
5.เมื่อเปิดกระป๋องแล้วได้กลิ่นบูดเน่าหรือกลิ่นผิดปกติ ห้ามบริโภคอาหารในกระป๋องนั้นเด็ดขาด
6.เมื่อเทอาหารออกจากกระป๋องแล้ว ถ้าภายในกระป๋องมีสนิมรอยถลอก หรือรอยด่างของโลหะ ไม่ควรบริโภคอาหารในกระป๋องนั้นเช่นเดียวกัน
7.ควรดูฉลากและสังเกตวันเดือนปีที่ผลิตอาหารกระป๋องนั้น ไม่ควรซื้อหรือบริโภคอาหารกระป๋องที่เก็บไว้นาน เพราะทำให้คุณค่าทางอาหารลดลง

โพสต์โดย : fahsaii fahsaii เมื่อ 16 ต.ค. 2566 06:31:47 น. อ่าน 38 ตอบ 0

facebook